ลิลลี่ซูวิเนีย จำหน่ายสินค้าส่ง-ปลีก

���������

การเลือกม้าเพื่อจะเลี้ยงไว้ดูเล่นหรือเลี้ยงไว้ด้วยเหตุผลอื่นก็ตาม วิธีเลือก (ของไทย) ที่ยอมรับกันมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบันก็คือการดูลักษณะม้า โดยพิจารณาลักษณะดังต่อไปนี้
๑. ผิวม้า
ม้ามาจากตระกูลดี และม้าลักษณะดีจะต้องมีผิวหนังบางขนสั้น มองเห็นรอยเส้นเลือดได้ชัดเจน เรียกว่า ม้าผิวบาง
๒. อวัยวะภายนอก
ม้าที่มีกล้ามเนื้อใหญ่โต ขาใหญ่ คอหนา ศีรษะโต ม้าที่มีลักษณะเช่นนี้ เป็นม้าแข็งแรง แต่ไม่ว่องไว เรียก ม้าทึบ
๓. นิสัย
ม้าที่มีลักษณะหงอย ไม่ปราดเปรียว ส่วนมากมักจะแข็งแรงเรียกว่า ม้าเลือดเย็น ม้าที่มีลักษณะปราดเปรียว ส่วนมากนิสัยดี และมีสายเลือดดี เรียก ม้าเลือดร้อน
๔. ส่วนศีรษะ แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ
ส่วนหน้า จากตาถึงปลายจมูก
ส่วนกระหม่อม จากตาถึงท้ายทอย
ม้าที่ตระกูลดี ฉลาด ว่องไว และเลือดร้อน ส่วนหน้าจะเล็กกว่าส่วนกระหม่อมมาก
สันจมูก ม้าที่มีสันจมูกตรงหรือแอ่นงอนแสดงว่าเป็นม้าเลือดเย็น ม้าที่มีสันจมูกโค้งและนูนตรงกลางแสดงว่าเป็นม้าเลือดร้อน
รูจมูก ม้าที่มีรูจมูกกว้าง มักจะเป็นม้าที่แข็งแรง
ปาก ม้าปากกว้าง (มุมปากอยู่ใกล้แก้ม) เป็นม้าที่แข็งแรง ม้าปากเล็ก มุมปากเล็ก (มุมปากตื้น) มักจะเป็นม้าว่าง่าย สอนง่า
ตา ม้าตากลมโตจะเป็นม้าเลือดเย็น สอนง่าย ม้าตาเล็กจะเป็นม้านิสัยโกง
ขากรรไกร ม้าขากรรไกรหนาและม้าขากรรไกรโต มักจะมีนิสัยขี้โกง เกียจคร้าน
หู ม้าตระกูลดี ได้แก่ ม้าหนู คือ หูเล็กบางและชิดกัน ม้าตระกูลปานกลาง ได้แก่ ม้าหู กระต่าย คือ หูเล็กแต่ยาว ม้าตระกูลไม่ดี ได้แก่ม้าหูลา หูใหญ่ยาวปลายเรียว ม้าหูวัว หูจะสั้นหนา
๕. คอ
สันคอ ม้าที่มีสันคอบาง เป็นม้ามีตระกูลดี วิ่งเร็ว แต่ไม่ค่อยแข็งแรง ส่วนม้าที่มีสันคอหนา เป็นม้าตระกูลไม่ดี วิ่งไม่ค่อยเร็ว แต่แข็งแรง
ผมแผง ม้าตระกูลดี ผมแผงจะมีขนเส้นบางๆ ม้าตระกูลไม่ดี ผมแผงคอจะหยาบ เส้นหนา
รูปคอ คอม้ามีรูปร่างต่างกันออกไป ซึ่งจะเป็นลักษณะที่เป็นเครื่องสังเกตว่า ม้าจะดีหรือไม่ แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด
ม้าคอหงส์ คือลักษณะรูปคอที่โค้งตลอด ตั้งแต่ต้นคอจนถึงปลายคอ ม้าที่มีคอ ลักษณะเช่นนี้ จะเป็นม้าที่วิ่งเรียบและมีฝีเท้าเร็วขี่สบาย
ม้าคอตรง คือม้าที่สันคอโค้ง ส่วนใต้คอตรง มีรูปคอพอเหมาะ ม้าที่มีลักษณะเช่นนี้จะแข็งแรง ว่องไว เหมาะแก่การขี่
๖. ตะโหงก
เป็นสิ่งแสดงความแข็งแรงของม้า ม้าที่ว่องไวจะมีตะโหงกสูงเด่น ส่วนม้าตะโหงกเตี้ยแสดงว่าม้าไม่แข็งแรง
๗. ส่วนหลัง เป็นส่วนที่รับน้ำหนักของคนที่นั่งบนหลังม้า ม้าที่มีลักษณะหลังที่ยาว และอ่อน แสดงถึงว่าม้านั้นไม่แข็งแรง เพราะเมื่อใช้ขี่หรือบรรทุกของ จะทำให้หลังอ่อนรับน้ำหนักได้ไม่มาก ถ้าม้าที่ส่วนหลังสั้นจะทำให้ม้าเอี้ยวตัวไม่สะดวก และเป็นเครื่องชี้ให้ทราบได้ว่าปอดม้านั้น จะไม่ใหญ่ เวลาวิ่งจะเหนื่อยเร็ว เราแบ่งลักษณะรูปส่วนหลังม้าออกเป็น :
ม้าหลังโค้ง เป็นม้าที่รับน้ำหนักได้ดีมาก และมีความอดทนต่อน้ำหนักที่รับ แต่ถ้าใช้ขี่จะกระเทือนมาก ม้าชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้บรรทุกสิ่งต่าง
ม้าหลังตรง เป็นม้าที่มีลักษณะดี เมื่อเวลาบรรทุกของ หลังจะแอ่นลงเล็กน้อย ม้าชนิดนี้รับน้ำหนักได้ดี มีความอดทนและขี่สบาย
๘. ส่วนก้นหรือส่วนท้ายของม้า
ม้าที่มีก้นหนาใหญ่ จะเป็นม้าที่มีกำลังมาก แข็งแรงและวิ่งได้เร็ว
๙. หาง
มีประโยชน์สำหรับป้องกันยุงและแมลงมารบกวน ฉะนั้นจึงไม่ควรตัดหางม้าให้สั้นเกินไป หางม้ายังบอกตระกูลของม้าได้ โดยดูตำแหน่งการติดของมัน หางติดสูง คือตำแหน่งของหางจะติดได้ระดับเดียวกันกับก้นของม้า แสดงว่าเป็นม้าตระกูลดี หางติดต่ำหรือหางจุกตูดเป็นม้าตระกูลไม่ดี ไม่สวยงาม หางติดปานกลาง แสดงว่าเป็นม้าตระกูลพอใช้ได้
๑๐. หน้าอก เป็นเครื่องแสดงให้ทราบว่า ม้านั้นแข็งแรงหรือไม่ แบ่งออกเป็น
ม้าอกราชสีห์ คือ ม้าที่มีหน้าอกกว้าง มีกล้ามเนื้อมาก และกล้ามเนื้อนูนเป็นก้อนทั้งสองข้าง แสดงว่าเป็นม้าที่มีกำลังแข็งแรง มีความอดทนดี
ม้าอกไก่ คือ ม้าที่มีหน้าอกแคบ กล้ามเนื้อน้อยและอกนูนเป็นสันลงมา ตรงกลางดูคล้ายอกไก่ เป็นม้าที่ไม่ค่อยแข็งแรงนัก
ม้าอกแคบหรืออกห่อ คือ ม้าที่มีกล้ามเนื้ออกน้อย เวลายืนขาหน้าจะชิดกันมาก แสดงว่าไม่แข็งแรงและไม่อดทน
๑๑. สวาบ
สวาบของม้าธรรมดา มักจะกว้างราว ๑ ฝ่ามือ จึงจะนับว่าพอดี ถ้าสวาบกว้างกว่านี้ส่วนมากนับว่าไม่แข็งแรง มักจะเป็นม้าเอวบางหรือเอวอ่อน
๑๒. สะบัก
ม้าที่มีสะบักยาว มักวิ่งได้เร็ว เนื่องจากม้าเหยียดขาไปข้างหน้าได้มาก ก้าวขาได้ยาวและเร็ว สะบักม้าที่ดีจะมีความยาวเท่ากับส่วนศีรษะหรือถ้ายาวกว่าส่วนศีรษะยิ่งดี สะบักควรจะเอนประมาณ ๕๐-๖๐ องศากับลำตัว จึงนับว่าดี
๑๓. ขาหน้า ขาหน้าจะต้องไม่โก่งหรือแอ่น ขาทั้งคู่ควรจะตั้งตรง จึงจะเป็นม้าที่วิ่งได้ดี ม้าที่ปลายเท้าแคบ หรือยืนบิดปลายเท้า หรือยืนขาถ่าง มักจะวิ่งไม่เร็ว
ส่วนประกอบของขาหน้าที่ควรพิจารณาได้แก่
โคนขา ควรจะมีกล้ามเนื้อแข็งแรง และค่อยๆ เรียวลงมาตามลำดับ และผิวหนังบาง เห็นเส้นเอ็นได้ชัดจึงจะดี
หน้าแข้ง ต้องเรียวเล็กลงตามลำดับ มีผิวหนังบาง ขนละเอียดไม่ปุกปุยและหยาบ
๑๔. ขาหลัง เช่นเดียวกับขาหน้า คือ ตั้งได้พอเหมาะ ขาหลังทั้งสองต้องอยู่ห่างกันพอเหมาะ เวลาม้ายืนขาหลังต้องเอนเข้าข้างในตัวเล็กน้อย และข้อตาตุ่มของขาหลังโตกว่าข้อตาตุ่มของขาหน้าเล็กน้อย

 

แสดง 1-2 จาก 2 รายการ